รูปตึก ศทวช

                                                                                 ประวัติ
    เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2495 กรมปศุสัตว์จัดตั้งหน่วยผลิตเซรุ่มและวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ขึ้นที่ตำบลปากช่อง (ริมลำตะคลอง) อำเภอจันทึก (เดิม) จังหวัดนครราชสีมาต่อมายกฐานะเป็นกองผลิตชีวภัณฑ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดแบ่งส่วนราชการของกรมปศุสัตว์ฉบับใหม่ กองผลิตชีวภัณฑ์เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์" มีงานสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องมีควบคู่กับการผลิตวัคซีน-เซรุ่ม คือ การทดสอบคุณภาพวัคซีน-เซรุ่มก่อนนำไปใช้จริง ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งหน่วยงานภายในเพื่อทดสอบคุณภาพวัคซีน-เซรุ่มที่ผลิต คือ กลุ่มทดสอบคุณภาพชีวภัณฑ์ ต่อมายกฐานะเป็น "ศูนย์ควบคุมคุณภาพชีวภัณฑ์" อยู่ในสังกัดสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ หลังจากมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 ศูนย์ควบคุมคุณภาพชีวภัณฑ์ไปอยู่ในสังกัดสำนักตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์และเปลี่ยนชื่อเป็น "กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์" ต่อมามีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2554 วันที่ 6 มกราคม 2555 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2559 เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ ชื่อย่อ ศทวช. เป็นหน่วยงานในสังกัดสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พ.ศ. 2556 ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 ขอบข่ายงานสารบรรณ งานพัสดุ งานเบิกจ่ายเงินงบประมาณ งานช่าง และงานยานยนต์ และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ในปี พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2561 ได้รับการรับรองระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 3 ขอบข่าย คือ การตรวจแอนติบอดีต่อไวรัสนิวคาสเซิล การทดสอบความปราศจากเชื้อในวัคซีนไวรัสเชื้อเป็น และการทดสอบความเป็นกรด -ด่างในชีววัตถุสำหรับสัตว์ (วัคซีนสัตว์ แอนติเจน แอนติซีรัม และน้ำยาละลายสำหรับวัคซีนสัตวฺ์) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 ข่าวประชาสัมพันธ์
ภารกิจ

ปรับปรุงพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์และ เป็นห้องปฏิบัติการตรวจสอบวัคซีนสัตว์อาเซียน (ASEAN animal Vaccine Testing Laboratory )
เป็น National Focal Point for Animal Vaccines

ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ ทั้งที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ สารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เช่น วัคซีนท็อกซอยด์ สารเสริมภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เช่น เซรุ่ม และสารช่วยในการพิเคราะห์โรค และออกใบรับรองผลการตรวจสอบ (Certificate of Analysis)
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบและจัดทำมาตรฐานชีววัตถุสำหรับสัตว์
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาแอนติเจน แอนติซีรั่ม และชุดทดสอบเพื่อใช้ในการตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเซลล์เพาะเลี้ยงชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้ในการผลิตและตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการและการบริหารจัดการทดลองสัตว์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการผลิต การตรวจสอบและการใช้ชีววัตถุสำหรับสัตว์