กิจกรรมภายในองค์กร

หัวหน้าหน่วยงาน
หมอฐิตวัฒน์ 
นายฐิตวัฒน์ จันทวร
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน
ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์

C O N T A C T

Tell:044-313297, 044-279948, 044-279949 

Email:vba@dld.go.th

 

 

 

 !!คลิกเพื่อดูรายละเอียด!!

การให้บริการของหน่วยงาน

การจัดประชุม - สัมมนา

ข่าวสาร ศทวช.

FACEBOOK

V I D E O S - P R E S E N T A T I O N

ประชาสัมพันธ์

FACILITY

จดหมายข่าว

น้องมายจะเที่ยวทะเล

ไอคอนลิงค์

 

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

เริ่มนับตั้งแต่วันที่
37985
Today24
Yesterday37
This_Week229
This_Month1315
All_Days37985

กำลังออนไลน์

We have 1153 guests and no members online

7 8.8.66.1

 

วันที่ 7 - 8 สิงหาคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสัตว์ (ศทวช.)  เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตร “การจัดการเครื่องมือตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 และการรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ” ในรูปแบบ Onsite และรูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom Conference
จัดโดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
โดยมีเรืออากาศเอกพิชัย มะคาทอง เป็นวิทยากร
 
7 8.8.66

4.8.66

 

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นายสัตวแพทย์ฐิตวัฒน์ จันทวร หัวหน้างานศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ น.สพ.ดร. ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร ศาสตราจารย์ กิตติคุณ น.สพ.ดร. จิโรจน์ ศศิปรียจันทร์ ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. เผด็จ ธรรมรักษ์ รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. สัมพันธ์ ธรรมเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ปริวรรต พูลเพิ่ม และ สพ.ญ.ดร. นิธิรา อนัคกุล ในการประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติเรื่องมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ณ ห้อง Jamjuree Ballroom A โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพมหานคร และ online ผ่านระบบ zoom จัดโดย ศูนย์สัตว์ทดลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับดำเนินการกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรื่อง การพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการกรณีที่มีการนำสัตว์เกษตรชนิดต่างๆ ได้แก่ โคนม โคเนื้อ ไก่ สุกร แพะและแกะ มาใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีระบบการจัดการให้สัตว์เกษตรเหล่านั้นได้มีสวัสดิภาพที่ดี ไม่เครียด ไม่เจ็บปวดทรมานและไม่ติดเชื้อ การเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรดังกล่าว ต้องมีการจัดการอาคาร สถานที่ มีระบบการจัดการที่ดี มีระบบการเลี้ยงที่ดี มีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สารพิษหรือมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และมีการวางแผนการใช้สัตว์เกษตรที่ถูกต้องสอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

 

4.8.66.2

26 27.08.66

 

วันที่ 26-27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 นางวิลาสินี ท้าวเพชร นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ และนางสาวนิลาวัลย์ สวยกำปัง พนักงานห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "ความปลอดภัยในการใช้งานและการตรวจรับรองตู้ชีวนิรภัย" ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ โดยมีนายสัตวแพทย์เลิศชัย จินตพิทักษ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม และมีวิทยากรจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ได้แก่ นายเกรียงศักดิ์ ศรีแก้วเขียว นายช่างเทคนิคชำนาญงาน นายคมกฤษ โสมนัส นายช่างเทคนิคชำนาญงาน นายณรงค์ฤทธิ์ เทวี นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน และคณะวิทยากรจากบริษัท บี เคเทค แอสโซซิเอท จำกัด เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้เข้าใจหลักการความปลอดภัยในการใช้งาน และการตรวจรับรองตู้ชีวนิรภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

26 27.8.66.1

10.07.66.1

 

วันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2566 ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ นำทีมโดย สพ.ญ.วิลาสินี ท้าวเพชร นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ และเจ้าหน้าที่เดินทางไปร่วมโครงการประชุมและนำเสนอผลงานการจัดการความรู้ ภายใต้กรอบแนวคิด "KM 2023 Open & Challenges เรียนรู้รอบด้านพร้อมเปิดกว้างและท้าทาย ให้แก่บุคลากรภายในหน่วยงาน โดยมี น.สพ.เลิศชัย จินตพิทักษ์สกุล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ตอนบน เป็นเจ้าภาพ การประชุมนี้เป็นเวทีให้บุคลากรของหน่วยงานมีโอกาสนำเสนอผลงานการจัดการความรู้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น ทักษะ และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างพลังแห่งการเรียนรู้ และช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้มีการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจาก สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ประจำภูมิภาคทั้ง 8 แห่ง มีหัวข้อดังนี้
1. ศวพ. ชลบุรี เรื่อง การจัดการฐานข้อมูล primerprobe อย่างง่ายด้วย google workspace
2. ศวพ. ลำปาง เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด Formalin pigment ในเนื้อเยื่อ
3. ศวพ. ราชบุรี เรื่อง โปรแกรมพัสดุ 2022 (My Inventory for All)
4. ศวพ. นครศรีธรรมราช เรื่อง ศูนย์ใต้ฯสอบสวนฉับไว เต็มใจบริการ
5. ศทวช. (นครราชสีมา) เรื่อง การจัดเก็บข้อมูลเครื่องมือ และสารเคมีแบบไร้กระดาษ
6. ศวพ. ขอนแก่น เรื่อง ระบบบริหารจัดการทรัพย์สินในหน่วยงาน
7. สสช. เรื่อง สับปะรด หยุด!การแข็งตัวของเลือด
8. ศวพ. สงขลา เรื่อง นวัตกรรมการผลิตกล่องเพื่ออ่านผล EIA ด้วยวิธี AGID
9. ศวพ. สุรินทร์ เรื่อง Blank sample for Rabies DFA test
10. ศออ. (นครราชสีมา) เรื่อง สแกนฉันสิ เธอทำได้
จากนั้น มีการจัดเวทีเสวนา X2B KM SUPERSTAR CHALLENGE ความท้าทายของคนเก่งต่าง Genโดยได้รับเกียรติจาก
1.สพ.ญ. สนทนา มิมะพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเคมีและพิษวิทยา จาก สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
2.สพ.ญ. มนทกานติ์ จิระธันห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยโรคสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ จาก สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ
3.นาย จำรัส เลิศศรี นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตว์แพทย์ภาคเหนือตอนบน
4.นางสาว สุภาพร มีบุญ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชำนาญการพิเศษ จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตว์แพทย์ภาคตะวันตก
ช่วงบ่ายของวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 มีการบรรยายในหัวข้อเรื่อง นพลักษณ์ : Enneagram ศาสตร์แห่งการเข้าใจตนเองและผู้อื่น โดยวิทยากร แพทย์หญิงธวัลรัตน์ ชยาอนันตพัฒน์ (หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รองผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต) แพทย์หญิงสีวลี จูสนิท (จิตแพทย์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต อาจารย์แพทย์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
ณ โรงแรมเขาหลัก เมอร์ลิน รีสอร์ท จังหวัดพังงา
 
10.07.66.2