กิจกรรมภายในองค์กร

หัวหน้าหน่วยงาน
หมอฐิตวัฒน์ 
นายฐิตวัฒน์ จันทวร
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้างาน
ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์

C O N T A C T

Tell:044-313297, 044-279948, 044-279949 

Email:vba@dld.go.th

 

 

 

 !!คลิกเพื่อดูรายละเอียด!!

การให้บริการของหน่วยงาน

การจัดประชุม - สัมมนา

ข่าวสาร ศทวช.

FACEBOOK

V I D E O S - P R E S E N T A T I O N

ประชาสัมพันธ์

FACILITY

จดหมายข่าว

น้องมายจะเที่ยวทะเล

ไอคอนลิงค์

 

สถิติผู้เข้าชมเว็บ

เริ่มนับตั้งแต่วันที่
33939
Today20
Yesterday72
This_Week273
This_Month127
All_Days33939

กำลังออนไลน์

We have 334 guests and no members online

21.6.67.1

📍KM Day ศทวช. 2567
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ (ศทวช.) ได้จัดกิจกรรม KM Day 67 ซึ่งหน่วยงานได้นำเสนอผลงานการจัดการความรู้ โดยผู้สนใจเข้ารับชมผลงานการจัดการความรู้ของแต่ละฝ่ายของศทวช. และให้โหวตผลงานที่ท่านชื่นชอบ เพื่อเป็นคะแนนป็อปปูล่าโหวต โดยผู้ชนะผลงานการจัดการความรู้ ประจำปี 2567 และคะแนนป็อปปูล่าโหวต ได้แก่ ฝ่ายบริหารจัดการชีววัตถุสำหรับสัตว์ เรื่อง VBAC E-TRACKING และฝ่ายสัตว์ทดลอง เรื่อง พัฒนาสถานที่ให้น่าอยู่ น่าทำงาน และผู้ชนะผลงานการจัดการความรู้ ประจำปี 2567 ได้แก่ ฝ่ายไวรัส เรื่อง WI-FI จ๋า พี่มาแล้ว!!!!
21.6.67

17 18.6 67.1

วันที่ 17-18 มิถุนายน 2567 ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ ได้รับการตรวจประเมินเพื่อเฝ้าระวัง (Surveillance) และขยายขอบข่าย (Extended scope) ครั้งที่ 2 ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (สมป.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีผู้ตรวจประเมินได้แก่ นายพันธวิทย์ นทกุล ข้าราชการบำนาญ (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ระดับชำนาญการพิเศษ) หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมิน และนายภูริต ทรงธนนิตย์ นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ
ขอบข่ายตรวจประเมิน เพื่อเฝ้าระวัง (Surveillance) จำนวน 5 ขอบข่าย ดังนี้
1.การตรวจแอนติบอดีต่อไวรัสนิวคาสเซิลในซีรั่มไก่ โดยวิธี Haemagglutination Inhibition (HI test)
2.การหาปริมาณไวรัสของวัคซีนรวมนิวคาสเซิลและหลอดลมอักเสบติดต่อในไก่ชนิดเชื้อเป็น โดยวิธีฉีดไข่ไก่ฟัก
3.การทดสอบความปราศจากการปนเปื้อนเชื้อในวัคซีนไวรัสชนิดเชื้อเป็น
4.การตรวจวัดความเป็นกรด – ด่าง
5.การตรวจหาปริมาณฟอร์มาลีน
ขยายขอบข่าย (Extended scope) จำนวน 2 ขอบข่าย ดังนี้
1.การหาปริมาณไวรัสของวัคซีนกาฬโรคเป็ดชนิดเชื้อเป็น โดยวิธีฉีดไข่ไก่ฟัก
2.การทดสอบความคุ้มโรควัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดเชื้อเป็น
17 18.6.67

11.6.67.1

วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์ เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย 2 หัวข้อ ณ ห้องประชุมใหญ่ศทวช. ดังนี้
1.แนวปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสี่ยงและป้องกันอัคคีภัย (Checklist) บรรยายโดยนางนภาพร นาคะปักษิณ (เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน) นางสาววรรณา วารีเศวตสุวรรณ (นักวิชาการเงินและบัญชี) และนายธนาสิทธิ์ พันธ์กรุงเก่า (นายช่างไฟฟ้า)
2.การวิเคราะห์งานความปลอดภัยในงานอาคารและสถานที่ทำงาน (Safety Analysis for workplace) บรรยายโดย นางสาวเสาวลักษณ์ พาด้วง (นายสัตวแพทย์ชำนาญการ) และนางสาวศิรินทิพย์ เข็มทอง (นายสัตวแพทย์ชำนาญการ)
เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความตระหนัก และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการ ปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยได้
11.6.67

06.06.67.1

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ นางสาวผกาวรรณ์ หวานเสนาะ นางสาวปรีย์มาตา วงษ์บ้านดู่ นางสาววริศรา วรินทรา และนางสาวจุฬารัตน์ อาจภักดี นำเสนอผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์ทดสอบและวิจัยคุณภาพชีววัตถุสำหรับสัตว์

6.6.67